การถ่ายภาพเป็นศิลปะและกิจกรรมที่สนุก พร้อมได้ท้าทายในตัวเอง ไม่ว่าคุณจะเป็นมือใหม่หรือผู้มีประสบการณ์ด้านการถ่ายภาพมาบ้างแล้ว การทำความเข้าใจพื้นฐานด้านการถ่ายภาพถือเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้คุณสามารถสร้างผลงานการถ่ายภาพของคุณได้อย่างพอใจ

 

สำหรับมือใหม่ที่เพิ่มเริ่มถ่ายภาพ อาจมีความสับสนกับฟังก์ชั่นต่างๆ
ภายในกล้อง และยังไม่รู้ว่าจะเริ่มถ่ายยังไงดี วันนี้ทางทีม Paduppa จะช่วยให้คุณได้รู้จักพื้นฐานการถ่ายภาพที่สามารถเริ่มต้นได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

 

พื้นฐานของการถ่ายภาพ

  • Aperture 

Aperture หรือ รูรับแสง และที่หลายท่านเรียกว่า ค่า F เปรียบเหมือนรูม่านตา มีหน้าที่ในการควบคุมปริมาณแสงที่เข้ามายังภาพ เลนส์กล้องที่มี Aperture กว้าง แสงที่เข้ากล้องมาก สามารถถ่ายภาพกลางคืนได้ดี และสามารถเกิดเอฟเฟคที่หน้าชัดหลังเบลอ ส่วนในกรณีที่ Aperture แคบ ภาพที่เข้ากล้องน้อยลง แต่จะเกิดเอฟเฟคการชัดลึกขึ้น คือ ภาพชัดทั้งด้านหน้าและหลัง เหมาะกับการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์

  • Aperture กว้าง

– แสงเข้ามากทำให้ภาพสว่าง

– หน้าชัดหลังเบลอ

– เน้นถ่ายภาพบุคคลละลายหลัง

– ถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ดี

  • Aperture แคบ

– แสงเข้าน้อยทำให้ภาพมืด

– ถ่ายแล้วมีความชัดทั้งภาพ

– นิยมกับการถ่ายรีวิว

– ถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้ยาก

 

 

  • Shutter Speed

Shutter Speed หรือ ความเร็วชัตเตอร์ เป็นตัวกำหนดระยะเวลารัยแสงของกล้อง ยิ่งความเร็วชัดเตอร์สูงจะสามารถหยุดการเคลื่อนไหวของการถ่ายภาพได้ดี ทำให้ภาพที่ออกมามีความคมชัด ยกตัวอย่าง การถ่ายนกบิน ถ้าใช้ Shutter Speed สูงมาก ก็จะสามารถจับการถ่ายภาพนกบินออกมามีความชัด แต่ถ้ายิ่งใช้ Shutter Speed สูงภาพที่ออกมาจะมืดลงด้วยเช่นกัน ในกรณีที่ใช้ Shutter Speed ต่ำในการถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหว ทำให้ภาพคมชัดได้ยาก หรือภาพเบลอ และถ้ายิ่ง Shutter Speed ต่ำภาพที่ออกมาจะมีความสว่างขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับ Shutter Speed สูง นั่นเอง  

  • Shutter Speed เร็ว

– จับการถ่ายภาพได้นิ่ง

– เหมาะกับการถ่ายภาพกลางแจ้ง

– แสงเข้ากล้องน้อยลง

– ใช้จับภาพกีฬา รถแข่ง หรือวัตถุที่เคลื่อนที่ได้เร็ว

  • Shutter Speed ช้า

– แสงเข้ากล้องมาก

– เหมาะกับการถ่ายภาพในที่แสงน้อย

– ระมัดระวังเรื่องภาพที่ถ่ายออกมามีความเบลอ

ใช้เก็บการลากแสงไฟ หรือการถ่ายภาพในที่แสงน้อยได้

  • ISO

ISO หรือ ค่าความไวแสง ยิ่งค่า ISO สูงภาพถ่ายที่ออกมาจะยิ่งมีความสว่างมากขึ้น แต่ค่า Noise รือ สัญญาณรบกวนในภาพ ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย โดยที่ ISO 100 ภาพจะเนียน แต่ถ้าปรับที่ ISO 3200 ภาพจะมีความหยาบ Noise ขึ้นมาในภาพแทน ซึ่งการปรับค่า ISO ควรเป็นตัวเลือกสุดท้ายที่จะปรับ กล่าวคือ ควรปรับค่า ความเร็วชัตเตอร์ และรูรับแสงก่อน ยกตัวอย่าง การถ่ายภาพคนในที่แสงน้อย ควรปรับค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่เหมาะสมก่อน จากนั้นปรับค่ารูรับแสงกว้างสุด แต่ภาพยังมืดอยู่ จึงค่อยมารับค่า ISO เพื่อชดเชยแสงที่ไม่พอ

  • ISO ต่ำ

– เหมาะสำหรับการถ่ายภาพกลางแจ้ง

– ใช้ได้กับการถ่ายภาพทุกแบบ

– ค่า ISO ต่ำ จะทำให้ภาพที่ออกมาเนียบ

– ค่า ISO ถ้าเลขน้อยจะทำให้ภาพมืดลง

  • ISO สูง

– เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในที่แสงน้อย

– มักใช้ถ่ายภาพภายในอาคารหรือที่มืด

– ค่า ISO จะทำให้มีค่า Noise มาก

– ระมัดระวังการใช้ ISO สูง เพราะจะทำให้คุณภาพไฟล์ของภาพลดลง  

 

โหมดต่างๆภายในกล้องถ่ายภาพ

  1. โหมด Aperture Priority หรือ A, Av

โหมดนี้ทำให้ผู้ถ่ายภาพสามารถกำหนดขนาดรูรับแสงได้ คือ จะสามารถควบคุมความชัดตื้นและชัดลึกของภาพได้ หากต้องการถ่ายภาพบุคคล แล้วฉากหลังเบลอ ควรปรับค่ารูรับแสงกว้าง (f/8 ลงมา) หรือหากต้องการถ่ายภาพวิวทิวทัศน์แบบ คม ชัด ลึก ทั้งภาพ ให้ปรับรูรับแสงแคบ (f/8 ขึ้นไป)

 

  1. โหมด Shutter Priority หรือ S, Tv

โหมดนี้เป็นโหมดที่ผู้ถ่ายภาพสามารถกำหนดค่าความเร็วชัตเตอร์ โดยกล้องจะทำหน้าที่คำนวณรูรับแสงที่สัมพันธ์กันขึ้นมาให้ หากต้องการถ่ายภาพการแข่งรถ ซึ่งวัตถุที่ต้องการถ่ายขยับเร็ว ควรตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไว้อย่างน้อยที่ 1/1000 วินาที เพื่อให้กล้องสามารถบันทึกภาพการแข่งขั้นไว้ แต่ถ้าในกรณีที่ต้องการถ่ายภาพน้ำตก ให้สายน้ำดูนุ่มนวล ควรกำหนดค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

 

  1. โหมด Program หรือ P

โหมดนี้ผู้ถ่ายภาพไม่สามารถกำหนดความเร็วชัตเตอร์และขนาดรูรับแสงได้เอง กล้องจะทำหน้าที่คำนวณทั้งสองค่าให้ตามสภาพแสงจริง ซึ่งถือว่าเป็นโหมดที่เหมาะสำหรับมือใหม่ เนื่องจากล้องจะคำนวณแสงการถ่ายภาพให้อัตโนมัติ

 

  1. โหมด Manual หรือ M

โหมดนี้ผู้ถ่ายภาพมีอิสระในหารกำหนด ขนาดรูรับแสง และความเร็วชัตเตอร์ ซึ่งโหมดนี้เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในสตูดิโอ หรือการถ่ายภาพที่แสงคงที่ จะช่วยประหยัดเวลาในการตั้งค่ากล้องสำหรับผู้ถ่ายภาพ